000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > บทความ > เครื่องเสียงบ้าน > 2 ความเข้าใจผิด ในการเล่นเครื่องเสียง
วันที่ : 18/01/2016
19,112 views

2 ความเข้าใจผิด ในการเล่นเครื่องเสียง

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

ในการเล่นเครื่องเสียง เป็นไปได้อย่างมากที่เราอาจเข้าใจอะไรผิดๆ นับตั้งแต่การเลือกซื้อ การติดตั้ง และตอนเล่น(ฟัง)จริงๆ ผู้ที่จะแก้ข้อผิดพลาดนี้ได้จะต้องมีความรอบรู้ และลึกซึ้งจริงๆ
       ต่อไปนี้คือ ความเข้าใจอะไรผิดๆในการเลือกซื้อ หรือเลือกเล่น วิธีเล่น

1.    การเล่นแยกเครื่องปรี กับเครื่องเพาเวอร์แอมป์ จะให้คุณภาพดีกว่าเล่นเครื่องปรีกับเพาเวอร์อยู่ในเครื่อง
       เดียวกันที่เรียกว่า อินทริเกรทแอมป์

       คำตอบคือ ทั้งจริงและไม่จริง
       แน่นอน การแยกภาคปรีออกเป็นคนละเครื่องกับภาคเพาเวอร์แอมป์ที่ใช้ขับดันลำโพง ย่อมลดการ
       รบกวน, ดึงกำลังกันระหว่าง 2 ภาค ยิ่งถ้าภาคเพาเวอร์แอมป์มีกำลังขับสูงๆ หม้อแปลงไฟขนาดใหญ่
       การรบกวนยิ่งมีมาก การแยกเป็นคนละเครื่องไปเลย ภาคจ่ายไฟของใครของมัน ย่อมตัดปัญหานี้ไปได้
       โดยสิ้นเชิง รวมทั้งการรบกวนในแง่มุมอื่นเช่น การแผ่คลื่นไฟฟ้ารบกวนกันเอง การสั่น(จากหม้อแปลง
       ขนาดใหญ่) รบกวนภาคปรี ฯลฯ

              อย่างไรก็ตาม ผู้ออกแบบทั้งสองเครื่องก็ต้องออกแบบเผื่อไว้พอสมควร อย่างปรีแอมป์ ก็อาจต้อง
       ออกแบบภาคขาออกให้มีความต้านทานต่ำมาก เช่น 600 โอห์มหรือต่ำกว่า เพื่อไม่ให้มันขี้เลือกเครื่อง
       เพาเวอร์แอมป์ที่จะมาเล่นเข้าคู่กัน เพราะไม่รู้ว่าเพาเวอร์แอมป์ที่มาใช้ร่วมกัน ยี่ห้ออื่นๆ จะมีความต้าน-
       ทานขาเข้าสูง ,ต่ำ แค่ไหน มีอัตราการขยายมากน้อยแค่ไหน

              ในทำนองเดียวกัน เครื่องเพาเวอร์แอมป์ก็ต้องถูกออกแบบความต้านทานขาเข้าให้สูงสักหน่อยเผื่อ
       ไว้ เพราะไม่รู้ว่ามันจะถูกนำไปใช้กันปรีแอมป์ยี่ห้ออะไร หลอดหรือทรานซิสเตอร์ มีอัตราขยายมาก-
       น้อยเท่าไร

              การที่ทั้งปรีและเพาเวอร์แอมป์ ต้องมีการออกแบบเผื่อไว้มาก เป็นการเพิ่มต้นทุนเอาเรื่องทีเดียว

              การเป็นอินทริเกรทแอมป์ ภาคปรีกับเพาเวอร์อยู่ในเครื่องเดียวกัน ผู้ออกแบบไม่ต้องเผื่อ เพราะ
       ทราบดีว่า คู่ของมันมีคุณสมบัติอย่างไร จึงสามารถออกแบบให้ลงตัวได้ดีที่สุดโดยต้นทุนต่ำสุดได้
       ขณะที่คุณภาพก็ลงตัวดีที่สุดด้วย

              นอกจากนั้น การแยกเครื่องปรี กับ เครื่องเพาเวอร์แอมป์ จะต้องสิ้นเปลืองกับค่าวงจรเชื่อมต่อขา
       ออกของปรี และวงจรเชื่อมต่อขาข้าวของเพาเวอร์แอมป์ ยิ่งถ้าเป็นระบบบาลานท์ วงจรทั้ง 2 นี้จะมี

       ต้นทุนสูงมาก ทั้งชิ้นส่วนภายในวงจรและขั้วหัวเสียบ ถ้าเครื่องระดับไฮเอนด์ ส่วนเพิ่มเหล่านี้อาจสูงถึง
       3-4 หมื่นบาททีเดียว
              แน่นอน เมื่อแยก 2 เครื่อง ก็ต้องมีสายสัญญาณเสียงต่อเชื่อกัน สายสัญญาณระดับไฮเอนด์บางคู่
       ราคาระดับ 1 หมื่นบาทขึ้นไปถึงหลายแสนบาท หรือล้านบาทก็ยังมี สมมุติเราถูกใจสายสัญญาณคู่หนึ่ง
       ราคา 2 หมื่นบาท (นักเล่นระดับไฮเอนด์ ถือว่าเป็นราคาที่รับได้) นั่นหมายความว่า เราต้องใช้ถึง 2 คู่
       (2 หมื่น x 2 = 4 หมื่นบาท) เพื่อต่อจากเครื่องเล่น CD มาปรี และจากปรีไปเพาเวอร์แอมป์ บางท่านใช้
       สายสัญญาณราคา 3-4 แสนบาท ก็ต้องจ่ายเพิ่มอีกเท่าตัว ซึ่งนับว่าน่าคิดทีเดียว บางทีข้อดีของการเล่นปรี
       ,เพาเวอร์แยกชิ้น แต่ต้องลดคุณภาพสายสัญญาณลงจากชุดละ 2 หมื่นบาท มาเป็นชุดละ 1 หมื่นบาท
       2 ชุด อาจได้ไม่เท่าเสีย อย่าลืมว่า สายทั้ง 2 ช่องต้องเป็นยี่ห้อ, รุ่นเดียวกัน ห้ามใช้ลูกผสม เสียง, มิติ จะ
       ออกมาทะแม่งๆ คุ้มดีคุ้มร้าย

              ไหนจะสายไฟ AC อีก ถ้าเล่นเป็นอินทริเกรทแอมป์เครื่องเดียว อาจพอสู้ค่าสายไฟ AC เส้นละ 1
       หมื่นบาทได้ แต่พอเล่น 2 เครื่องแยกชิ้น อาจะต้องลดระดับสายมาเกป็น 5,000 ต่อชุด

              ในเรื่องเครื่องเสียง บาทีมากชิ้นก็มากปัญหาในการเล่นแยกปรีกับเพาเวอร์แอมป์ เป็น 2 เครื่อง
              1.  ขาปลั๊กไฟ AC ของทั้งปรีกับเพาเวอร์ให้ถูกต้อง ถ้าเป็นชิ้นเดียว จะผิดก็ผิดชิ้นเดียว

              2.  เต้าเสียบไฟ AC ตัวเมียที่กำแพง หรือของรางไฟ บ่อยๆที่ต่างชุดเสียบ(เต้า) เสียงต่างกัน

              3.  มีโอกาสที่สายไฟ AC ของปรีกับเพาเวอร์จะแตะต้องกัน ลดทอนคุณภาพเสียง

              4.  มีสายไฟ AC มากเส้น ก็มีโอกาสแตะกับสายลำโพงมากขึ้น (คุณภาพเสียงจะแจ๋น, จ้า, จัด, แข็ง,
       แบน

              5.  สายไฟ AC มากเส้น ก็มีโอกาสตกลงพื้นปูน /พรมมากขึ้น (ใต้ปูนมีเส้นเหล็กโครง) บั่นทอน
       ภาพเสียง

              6.  การมีสายสัญญาณอีกชุดระหว่างปรีไปเพาเวอร์แอมป์ ก็มีโอกาสที่สายจะเสียบย้อนทิศมากขึ้น
       คือ ผิดพลาดมากขึ้นกว่ามีชุดเดียว และโอกาสที่สายแตะกันก็มีมากกว่า

              7.  บ่อยๆที่ผู้ใช้ชอบวางปรีแอมป์ซ้อนอยู่บนเพาเวอร์แอมป์ เป็นอันเสียผลที่ควรจะได้จากการแยก 2
       เครื่องไม่ให้แผ่คลื่นกวนกัน

แล้วเล่นอย่างไหนดี

พูดตามตรง ผมมองว่า ถ้าไม่ใช่คนที่ฟังดังมากจนคับห้อง ไม่ได้ฟังเพลงตูมตาม (ไม่ว่าแรพ, ดิสโก้, แดนส์ หรือ คลาสสิกโหมกระหน่ำ) อีกทั้งลำโพงก็มีความไวระดับ 87 dB SCL/w/m (ที่ 8 โอห์มหรือ 4 โอห์ม) ห้องไม่ใหญ่โตเกิน 4x9x2.5 เมตร ผมว่าหาอินทริเกรทแอมป์ดีๆสักเครื่อง กำลังขับสัก 100 w.RMS/eu ที่ 8 โอห์ม ท่เล่นก็น่าจะพอแล้ว ยิ่งแอมป์ประเภทมีกำลังสำรองดีๆ ตอบสนองฉับไว แยกซ้าย-ขวาภายใน (DUAL MONO แต่ 1 หม้อแปลงไฟ) ยิ่งเหลือเฟือ

       การเล่นเป็นอินทริเกรทแอมป์ คุณจะประหยัดเงินได้มาก แล้วเอาไปเพิ่มคุณภาพหรืองบของเครื่องเล่น CD เช่นจากตั้งใจงบ CD 3 หมื่นบาท คุณอาจเขยิบได้ถึงแสนบาท ซึ่งถ้าเลือกถูกต้อง คุณภาพเสียงที่ดีขึ้นของ CD จะยิ่งกว่าเกินพอกว่า ไปทุ่มเล่นปรี เพาเวอร์แยกชิ้นกับเครื่องเล่น CD 3 หมื่นบาท

       จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทำไมปัจจุบัน เครื่องเล่นเสียงปรี, เพาเวอร์ แยกชิ้นจึงเหลือน้อยลงเรื่อยๆ ขณะที่แม้แต่ระดับไฮเอนด์ แทบไม่มียี่ห้อไหนเลยที่ไม่มีอินทริเกรทแอมป์ เชื่อไหมว่า อินทริเกรทแอมป์ไฮเอนด์ บางยี่ห้อ ราคา 2-3 แสนบาท (ระดับประหยัดสุดของไฮเอนด์) ถึงระดับ 6-7 แสนบาทระดับ PREMIUM บางยี่ห้อราคา 1.5 ล้านบาท (SOLUTION อินทริเกรทแอมป์)! พวกนี้ให้คุณภาพเสียงที่ระดับปรี, เพาเวอร์แยกชิ้น ระดับกลางลงล่าง กระเด็นไม่เห็นฝุ่นเลย

       เทคนิคเพิ่มเติม

1.    ถ้าคุณชอบฟังดัง, หนัก, มหึมา ระดับสะท้านห้อง ขอแนะนำเล่นอินทริเกรทแอมป์ระดับดีหน่อย บวก
       ซับ ACTIVE ดีๆสัก 1 ตู้ มีสิทธิ์เข้าท่ากว่าเอาค่าซับไปโปะเล่นปรี, เพาเวอร์แยกชิ้น ไม่แปลกที่คุณจะหา
       อินทริเกรทแอมป์ดีๆ งบสัก 3-4 หมื่นบาท กับลำโพงวางพื้นเข้าท่างบซัก 3 หมื่นบาท แต่ทุ่มกับซับ
       ACTIVE ระดับ 1.7 แสนบาท ผมมั่นใจว่า คุณภาพโดยรวมมันส์ กระหึ่มกว่ามหาศาล โดยไม่มีซับ แต่
       ใช้ปรี, เพาเวอร์แยกชิ้นระดับ 2-3 แสนบาท

2.    อีกแนวทางคือ เล่น DUAL อินทริเกรทแอมป์ โดยใช้อินทริเกรทแอมป์ 2 เครื่องเหมือนกัน เครื่องหนึ่ง
       ใช้แก่ 1 CH เช่น ซีกซ้ายและไปต่อกับลำโพงซ้าย อีกเครื่องใช้แก่ 1 CH เช่น ซีกซ้าย (ควรเหมือนกันทั้ง
       2 เครื่อง ต้องลองฟังเอาว่า ไหนเสียงหลุดลอย เป็นตัวตนดีกว่า) เครื่องที่ 2 ก็ไปเข้าลำโพงขวา เราก็จะได้
       การทำงานที่อิสระ ตัดกันเด็ดขาดระหว่างซ้าย, ขวา และแต่ละเครื่องจะเสมือนได้ภาคจ่ายไฟเพิ่มเป็น 2
       เท่า (กรณีไม่ได้แยกภาคจ่ายไฟซ้าย, ขวาอิสระจากกันในเครื่อง) ลดการรบกวนซ้าย, ขวาลงเป็นศูนย์
       สามารถปรับวอลลูมของซีกซ้าย (เครื่องที่ 1), กับวอลลูมของซีกขวา (เครื่องที่ 2) ให้ได้เสียงที่โฟกัสตรง
       กลางดีที่สุดได้ (TRACKING ERROR เกือบ 0) จะได้มิติเสียงโฟกัสดีที่สุด, รายละเอียดดีที่สุด, ตื้นลึก/
       หลุดลอยดีที่สุด), เวทีเสียงกว้างโอบสุด, การสวิงเสียงอิสระที่สุด, เสียงนิ่งมั่นคงที่สุด

2.ความเข้าใจผิดที่ว่า ต้องวางลำโพงยิงหน้าตรง ไม่เอียงลำโพง (ไม่ TOE IN) เพื่อให้ได้เวทีเสียงกว้าง

       ปกติดอกลำโพงเสียงแหลมจะให้มุมกระจายเสียงเป็นลำแคบที่สุด (DIVERSITY PATTERN) ยิ่งความถี่สูงแค่ไหน ลำเสียงยิ่งเล็กแคบ แทบเป็นเส้นตรง ยิงตั้งฉากกับแผงหน้าลำโพง
       ดอกเสียงกลาง จะให้มุมกระจายเสียงลำเสียงกว้างบานออกมากขึ้น ยิ่งเสียงกลางลงต่ำยิ่งกว้างขึ้น แต่ก็ยังถือว่า เป็นลำเสียงแต่ไม่ผอมแคบมาก
       ดอกเสียงต่ำ จะให้มุมกระจายเสียงบานออกโอบรอบคู้ด้านหน้าและด้านข้างซ้าย, ข้างขวา, โอบมาหลังตู้บางส่วน พูดง่ายๆยิ่งเสียงต่ำแค่ไหน ยิ่งโอบเป็นวงรอบตู้เลย
       ด้วยเหตุนี้ เวลาเขาวัดสเปคลำโพงในห้องเก็บเสียง เขาจะนำไมโครโฟนมาวางรับเสียง อยู่ตรงกลางหน้าตู้ลำโพงเปะ ห่างออกมาเช่น 1 เมตร เพื่อให้ทุกลำเสียงจากทุกดอกลำโพง วิ่งมาหาไมโครโฟนได้ครบหมด
       การวางลำโพงหน้าตรง แล้วเรานั่งฟังตรงกลาง ลำเสียงจากดอกแหลมและดอกกลาง จะวิ่งตั้งฉากหน้าตู้ลำโพง แทบจะไม่มาถึงหูเราได้ เพราะมุมฟัง(หู) มันเอียงจากแนวตั้งฉากหน้าตู้ลำโพงไปถึงอย่างน้อยก็ 45 องศาขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับระยะนั่งฟังไกล, ใกล้ แค่ไหน) มีแต่เสียงทุ้ม(ต่ำ)ที่ยังพอมาถึงหูเราได้ เพราะมุมกระจายเสียงกว้างพอจะมาถึง(อย่างเอียงๆ)
       ผลคือ การตอบสนองความถี่เสียงผิดเพี้ยนไปหมด ไม่สามารถใช้ลำเสียงจากตู้ซ้าย, ตู้ขวา มาผสมผสานกันสร้างมิติ (image) ของชิ้นดนตรี, นักร้องใดๆในวงได้ เสียงจะแบน, ฟุ้ง, กระจัดกระจาย ไม่มีทรวดทรง ไม่มีความตื้นลึกของลำดับชิ้นดนตรี (perspective ไม่มี) แถมเสียงวอกแวก, แกว่งไม่นิ่ง ไม่กระเด็นหลุดลอยออกมา อาจฟังหลอกหูว่า เวทีกว้างดี (แต่จะไม่มีวันโอบอ้อมมาซ้ายหลัง, ขวาหลังได้)
       แต่การปรับตูนลำโพง เอียงเข้าหาตำแหน่งนั่งฟัง (TOE IN) จนได้ลำเสียงครบทุกลำมาเข้าหู จะได้การตอบสนองความถี่เสียงใกล้เคียงกับสเปคของลำโพง อีกทั้ง มิติเสียงจะนิ่ง, เป็นชิ้นเป็นอัน/มีทรวดทรง (3D) โฟกัส นิ่ง ไม่แกว่ง วอกแวก มีตื้นลึกลำดับชั้น เสียงจากลำโพงซ้ายที่ตรงเข้าหูก็จะมีบางส่วนอ้อมศรีษะรั่วมาเข้าหูขวา ทำนองเดียวกัน เสียงจากลำโพงขวา จะมาเข้าหูขวาครบและมีบางส่วนรั่วอ้อมศรีษะมาเข้าหูซ้าย ทำให้ได้เวทีเสียงกว้าง, โอบมาหลังซ้าย-ขวาได้อย่างเป็นธรรมชาติ มีกว้าง, แคบ ตามตำแหน่งแต่ละชิ้นดนตรีในวงจริงๆ ไม่ใช่ฟุ้งกว้างทั้งปีตลอดเวลาอย่างการวางหน้าตรง (บางครั้งกว้างเพราะสะท้อนฝาห้องซ้าย, ขวา) ซึ่งยิ่งทางลำโพงซ้าย, ขวา ห่างกันมากแค่ไหน อาการแย่ๆดังกล่าวแล้วจะยิ่งแย่มากขึ้นจนถึงมีซ้ายซ้าย, ขวา แต่ตรงกลางโบ๋, โหว่, ฟังไม่ได้ศัพท์ ไร้ตัวตน การวางลำโพงไม่ TOE IN (อย่างถูกต้อง) จึงเป็นเรื่องที่เลวร้าย ผิดพลาดอย่างมหันต์

       เช่นเดียวกัน การวางลำโพงสูง-ต่ำ จะไม่ได้ช่วยเรื่องมิติสูงต่ำของเวทีเสียงอย่างถูกต้องได้เลย เพราะมุมกระจายเสียงของลำโพงมักแย่ลง (แคบเข้า) เมื่อหูอยู่สูงหรือต่ำกว่าระดับต่ำแหน่งดอกลำโพงมากๆ เช่น ถ้ายกตู้ลำโพงสูงจนดอกสูงเลยหูมาก โดยหวังจะให้เวทีเสียงสูงขึ้น สง่าขึ้น จะกลับแย่ลง ทุกอย่างจะมัว, ฟุ้ง, พร่า ไปหมด เบสจะอู้ก้อง
       แน่ละ ถ้าวางสูงจนไปกระตุ้นการก้องจากเพดานห้อง เสียงก็จะไปโปะกระจุก แถวๆแนวเพดานห้อง แต่จะอู้ก้องและ “อยู่แถวๆนั้น” (ที่เพดาน)ตลอดทั้งปี เช่นเดียวกัน ถ้าวางลำโพงเตี้ยวแนวพื้นเลย เวทีเสียงก็จะจม, เตี้ยลง และมีอาการคล้ายการวางจนก้องที่เพดานห้อง เบสจะอู้ก้อง

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459